วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า,เครื่องปั่นไฟ,เครื่องเจน

       เครื่องยนต์ส่วนใหญ่ที่ถูกนำมาประกอบเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นเครื่องยนต์แบบ สแตนด์บาย โดยทั่วไปแล้วประเภทของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ เครื่องสแตนด์บาย คอนทินิวอัส และ ไพรม์พาวเวอร์ ซึ่งเครื่องยนต์แต่ละประเภทมีลักษณะในการใช้งานและราคาแตกต่างกัน ในเครื่องแบบสแตนด์บายนั้นได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานแบบสำรองในภาวะฉุกเฉิน ในกรณีที่ไฟฟ้าหลักไม่สามารถจ่ายได้ตามปกติ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบสแตนด์บายจึงเป็นที่นิยมใช้ทั่วไปตามสถานที่ต่างๆ เช่น โรงไฟฟ้า สนามบิน โรงงาน โรงพยาบาล โรงแรม รีสอรท์ บริษัท อาคารสำนักงาน สถานที่ราชการ รวมไปถึงฟาร์มต่างๆด้วย และวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาประกอบเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประเภทนี้จึงไม่แพงมากถ้าเทียบกับอีก 2 ประเภท ส่วนมากแล้วต้นกำลังของเครื่องยนต์ประเภทนี้เป็นต้นกำลังดีเซล เครื่องกำเนิดไฟฟ้าประเภทคอนทินิวอัส เป็นเครื่องประเภทที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ทำงานต่อเนื่องตามต้องการ ซึ่งแน่นอนว่าเครื่องประเภทนี้ต้องการบำรุงรักษาในเชิงป้องกันมากเป็นพิเศษ เพราะอาจจะต้องใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ในฟาร์มหมูบางแห่งนั้นเครื่องยนต์ประเภทนี้ได้ถูกนำไปให้งานนานต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ ผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในฟาร์มทั้งหมดแทนไฟฟ้าหลวง โดยมีต้นกำลังเป็นแก๊สชีวะภาพ สร้างบ่อมักแก๊สจากมูลสัตว์ไว้ในฟาร์มเอง 1 สัปดาห์หยุดใช้งาน 1วันเพื่อทำการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน วัสดุอุปกรณ์ของเครื่องยนต์และชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นจึงต้องเป็นวัสดุที่ดีกว่า ทำให้ราคาแพงตามไปด้วย และประเภทสุดท้าย ไฟรม์พาวเวอร์ ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานโดยมีกำหนดระยะเวลาในการทำงานที่แน่นอน หรือก็คือตั้งเวลาในการใช้งานร่วมกับไฟฟ้าหลักนั้นเอง ตัวอย่างเช่น การไฟฟ้าจ่ายไฟในช่วงเวลาที่มีความต้องการในการใช้ไฟฟ้ามาก หรือเรียกว่าช่วงพีค ตั้งแต่เวลา 9.00นถึง 18.00 น. ค่าไฟฟ้าจึงมีราคาแพง หลัง 18.00 ไปแล้วค่าไฟฟ้าจะถูกลง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าประเภท ไฟรม์พาวเวอร์จึงถูกกำหนดให้ทำงานในช่วงระยะเวลาพีคนั้นเอง วัสดุอุปกรณ์ที่นำมาประกอบเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประเภทนี้จึงเป็นวัสดุที่ดีที่สุดและมีราคาแพงมาก เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั้ง 3 ประเภทดังกล่าวจึงมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยทั่วไปแล้วมักจะเรียกใช้ในเวลาที่จำเป็นเพื่ออำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ตามความต้องการ โดยการใช้งานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถงานได้ถึง 30,000 ชัวโมงก่อนจะทำการ overhauls การซ่อมแซมบำรุงดูแลรักษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อการที่จะทำให้เครื่องยนต์อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานเสมอเพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินเมื่อเวลาที่ต้องการใช้เครื่องอย่างหนักและต่อเนื่อง การดูแลบำรุงรักษาประกอบไปด้วย การตรวจสอบทั่วไป การตรวจสอบ ระบบหล่อลื่น จารบี น้ำมันหล่อลื่น ระบบระบายความร้อน หรือระบบหล่อเย็น หม้อน้ำ น้ำ น้ำยาหล่อเย็น การรั้ว ท่อยาง สายยางต่างๆในระบบหล่อเย็น ระบบน้ำมันเชื่อเพลิง น้ำมันเชื่อเพลิง ทดสอบแบตเตอรี่ เดินเครื่องประจำสัปดาห์ ควรปฏิบัติตามตารางเวลาของการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอดังนี้ http://www.bskgen.com • ระบบไอเสีย ตรวจสอบระบบไอเสียทั้งหมดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ชุดหุ้มท่อไอเสียตรวจสอบการรั้วซึมของรอยเชื่อมต่อ ข้อต่อ ปะเก็นให้แน่ใจว่าไม่เกิดการรั้วซึมและร้อนมากเกินไป ถ้าเกิดอาการดังกล่าวให้ทำการซ้อมแซมแก้ไขทันที • ระบบเชื้อเพลิง ตรวจสอบชุดสายลำเลี้ยงน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งไปและกลับ กรองน้ำมันเชื้อเพลิงรวมไปถึงชุดอุปกรณ์ต่างๆ ให้แน่ใจว่าจะไม่ถูกับสิ่งที่ก่อให้เกิดการถลอก หรือการแตก ถ้าเกิดอาการดังกล่าวให้ทำการซ้อมแซมแก้ไขทันที • ระบบไฟฟ้า DC แบตเตอรี่ ตรวจสอบขั้วแบตเตอรี่ว่าแน่นและไม่มีสิ่งสรกปรกเกาะที่ขั้ว ก่อนทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ • ระดับของเหลว ,Monitor ความดันน้ำมันและน้ำหล่อเย็น อุณหภูมิเครื่องยนต์ การแจ้งเตือนที่หน้าปัดคอนโทรลพาแนล ดูและฟังเสียง ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยนต์ ที่จะแสดงให้เห็นว่าต้องทำการซ่อมแซม การแจ้งเตือนสำหรับ การสั้นสะเทือน สังเกตควันจากท่อไอเสียไม่ควรมีมากจนเกินไปเพราะจะทำให้เกิดการสูญเสียของน้ำมันเชื้อเพลิงกว่าปกติ • ระบบหล่อลื่น ตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องยนต์เมื่อเครื่องยนต์ถูกปิดรอประมาณ 10 นาทีเพื่อให้น้ำมันในส่วนบนของเครื่องยนต์ระบายน้ำกลับเข้าไปในห้องห้องข้อเหวี่ยง ตามคำแนะนำของผู้ผลิตเครื่องยนต์ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องและกรองน้ำมันเครื่องตามกำหนดเวลาที่แนะนำของผู้ผลิตเครื่องยนต์ บทความโดย Bsk